ข่าวเศรษฐกิจโลกล่าสุด วันนี้ ข่าวเศรษฐกิจไทย 2565 ล่าสุด ข่าวเศรษฐกิจไทยวันนี้ ฐานเศรษฐกิจ ข่าวเศรษฐกิจ ไทยรัฐ วันนี้ วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวเศรษฐกิจการเงิน ข่าวเศรษฐกิจโลก อเมริกาวันนี้
เศรษฐกิจวันนี้ นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 11 พ.ย. ที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นแรง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นการแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค.65 โดยมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.30 บาทต่อดอลลาร์ ข่าวเศรษฐกิจโลกล่าสุด วันนี้
ทั้งนี้ตลาดการเงินสหรัฐ กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อีกครั้ง หนุนโดยการปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงของบรรดาหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อาทิ Amazon +12%, Apple +8.9%, Microsoft +8.2% ส่งผลให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq พุ่งขึ้นกว่า +7.35% ส่วนดัชนี S&P500 ก็พุ่งขึ้น +5.54% โดยแรงซื้อหุ้นในฝั่งสหรัฐ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังรายงานข้อมูลเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือ Core CPI ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นเพียง +0.3% จากเดือนก่อนหน้า น้อยกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ +0.5% และเป็นการชะลอตัวลงต่อเนื่องของเงินเฟ้อพื้นฐาน ข่าวเศรษฐกิจไทย 2565 ล่าสุด
นอกจากนี้ บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดก็ต่างออกมาสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอลง ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งมั่นใจแนวโน้มเฟดชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย โดยล่าสุดจาก CME FedWatch Tool ผู้เล่นในตลาดมองโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย +0.50% ในเดือนธันวาคมสูงถึง 90% ก่อนที่จะทยอยขึ้นเพียง +0.25% ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป และมีโอกาส 50-50 ที่จะขึ้นไปถึงระดับ 5.25%…
ข่าวเศรษฐกิจการเงิน
ข่าวเศรษฐกิจโลก อเมริกาวันนี้
ข่าวเศรษฐกิจไทยวันนี้ ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ของยุโรป พลิกกลับมาพุ่งขึ้นราว +2.75% ตามบรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาด จากรายงานเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI สหรัฐ ที่ชะลอลงมากกว่าคาด ซึ่งหนุนให้บรรดาหุ้นเทคฯ และหุ้น Growth ต่างปรับตัวขึ้นแรง อาทิ Adyen +13.4%, ASML +9.7%, Hermes +5.9% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงออกมาดีกว่าคาด
ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่มั่นใจว่า เฟดจะชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยและอาจไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยไปสูงมาก หลังเงินเฟ้อสหรัฐ มีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ได้หนุนให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ปรับตัวลงแรงกว่า -30bps สู่ระดับ 3.80% ซึ่งเรามองว่า การปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ในช่วงคืนที่ผ่านมาก็อาจส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ระยะยาวในฝั่งเอเชีย ปรับตัวลดลงได้บ้าง ฐานเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี ประเมินว่า แม้ว่าเฟดอาจจะชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยได้ตามคาด แต่ความไม่แน่นอนของจุดสูงสุดดอกเบี้ยนโยบายเฟด (Terminal Rate) ก็อาจส่งผลให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังเคลื่อนไหวผันผวนและอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งเรามองว่าควรหาจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นในการทยอยซื้อ มากกว่าจะไล่ราคาในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ลดลง ข่าวเศรษฐกิจ ไทยรัฐ วันนี้
ในฝั่งตลาดค่าเงิน ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน ท่ามกลางแนวโน้มเฟดอาจชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ย และการปรับตัวลงแรงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ได้ส่งผลให้ เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหนัก เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลงแรง -2.3% สู่ระดับ 108.2 จุด โดยการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และการปรับตัวลงแรงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ได้หนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) พุ่งขึ้นต่อเนื่องทะลุโซนแนวต้านที่เคยประเมินไว้ สู่ระดับ 1,756 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่า การปรับตัวขึ้นแรงของราคาทองคำ อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรออกมา และน่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว (เงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาทองคำสูงถึง 85%) วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ
วิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าวเศรษฐกิจการเงิน สำหรับวันนี้ ในฝั่งสหรัฐ แม้ว่ารายงานข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐ ล่าสุดจะชะลอตัวลงมากกว่าคาด แต่ผู้เล่นในตลาดก็อาจจะรอประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด (ส่วนใหญ่เป็น FOMC Voting Members) รวมถึงคาดการณ์เงินเฟ้อระยะสั้น 1 ปี และ ระยะปานกลาง 5 ปี จากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment Survey) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะยังคงรอติดตามผลการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐ หลังผลการเลือกตั้งยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ในหลายรัฐที่คะแนนเสียงของทั้งสองพรรคมีความสูสีกัน และพรรคเดโมแครตก็ทำผลงานได้ดีกว่าคาด
ส่วนในฝั่งยุโรป ตลาดประเมินว่า ปัญหาค่าครองชีพที่สูงจากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูงเป็นประวัติการณ์ รวมถึงผลกระทบจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะส่งผลให้เศรษฐกิจอังกฤษในเดือนกันยายนหดตัวต่อเนื่อง -0.4%m/m ทำให้ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจจะหดตัวกว่า -0.5% จากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนว่าเศรษฐกิจอังกฤษอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สอดคล้องกับการประเมินของ BOE ล่าสุดที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเริ่มในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ ไปจนถึง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 โดยเศรษฐกิจอาจปรับตัวลงจากจุดสูงสุดถึงจุดต่ำสุดราว -3% (ทั้งนี้ การหดตัวของเศรษฐกิจก็อาจดีกว่า การหดตัวเกือบ -7% ในช่วงวิกฤต GFC ปี 2008) ข่าวเศรษฐกิจโลก อเมริกาวันนี้
ข่าวเศรษฐกิจ ไทยรัฐ วันนี้
ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาท มองว่า บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินอาจช่วยหนุนให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นใกล้โซนแนวรับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ จากแนวโน้มเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเดินหน้าเข้าซื้อหุ้นไทย แต่ทว่า อยากให้ระมัดระวัง ความผันผวนที่อาจกลับมา หากรายงานข้อมูล GDP อังกฤษ ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ตลาดยิ่งมั่นใจแนวโน้มการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอังกฤษ ซึ่งอาจส่งผลให้ เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) พลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้ หลังจากที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์
นอกจากนี้ ในเชิงเทคนิคัล การแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้เงินบาทเข้าสู่ช่วง RSI Oversold (กราฟเงินบาทรายวัน) ทำให้การแข็งค่าของเงินบาทอาจเริ่มชะลอลงและมีโอกาสเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้เร็ว หากปัจจัยมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น ตามตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยง หรือจากการอ่อนค่าของสกุลเงินหลักอื่นๆ เศรษฐกิจวันนี้
แนะนำ
- ฟื้นตัว จีดีพี Q3 เติบโต 14.2% ตลาดแรงงานฟื้นตัว
- จำนวนปริมารเหรียญ BUSD ในตลาด พุ่งแตะ 7.4 แสนล้านบาท
- เศรษฐกิจวันนี้ ประเด็นร้อน กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหา
- Ethereum คืออะไร ต่างจาก Bitcoin อย่างไร
- สัปดาห์นี้ ตามด้วยเศรษฐกิจ-การลงทุนพบข่าวปลอมนโยบาย
เครดิต www.dailynews.co.th